วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

Jean Jaques Rousseau


ฌอง-ฌาค รุสโซ (Jean Jaques Rousseau) 22 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321 เป็นนักปรัชญา นักเขียน กทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลง ที่ฝึกหัดด้วยตนเอง แห่งยุดแสงสว่าง
ปรัชญาของรุสโซ
คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ ( back to nature ) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของตัวเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"
ทฤษฎี "คนเถื่อนใจธรรม"
รุสโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (noble savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคม เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
ความเรียงชื่อ "การบรรยาเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (2293) ที่ได้รับรางวัลของเมืองได้อธิบายความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพชของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และความระแวงสงสัย
งานชิ้นถัดมาของเขา "การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค" ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้นเป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีความต้องการอิสระ (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กลาวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเองและมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร จึงได้ปรัลเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่นๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีต่อตนเอง รุสโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น